เมนู

6. อุปเสนวังคันตปุตตเถรคาถา



ว่าด้วยคาถาของพระอุปเสนวังคันตปุตตเถระ


[375] ภิกษุซ่องเสพเสนาสนะอันสงัด ปราศจากเสียง
อื้ออึง เป็นที่อยู่อาศัยแห่งสัตว์ร้ายเพราะการหลีกเร้น
ออกเป็นเหตุ ภิกษุพึงเก็บผ้ามาจากกองหยากเยื่อ จาก
ป่าช้า จากตรอกน้อยตรอกใหญ่ แล้วทำเป็นผ้านุ่งห่ม
พึงทรงจีวรอันเศร้าหมอง ภิกษุควรทำใจให้ต่ำ คุ้มครอง
ทวาร สำรวมดีแล้ว เที่ยวไปบิณฑบาตตามลำดับตรอก
คือตามลำดับสกุล ภิกษุพึงยินดีด้วยของ ๆ ตนแม้จะเป็น
ของเศร้าหมอง ไม่พึงปรารถนารสอาหารอย่างอื่นมาก
เพราะใจของบุคคลผู้ติดในรสอาหาร ย่อมไม่ยินดีใน
ฌาน ภิกษุควรเป็นผู้มีความปรารถนาน้อย สันโดษ ชอบ
สงัด เป็นมุนี ไม่คลุกคลีด้วยพวกคฤหัสถ์ และพวก
บรรพชิตทั้งสอง ภิกษุผู้เป็นบัณฑิต ควรแสดงตนให้
เป็นดังคนบ้าและคนใบ้ ไม่ควรพูดมากในท่ามกลางสงฆ์
ไม่ควรเข้าไปกล่าวว่าใคร ๆ ควรละเว้นการเข้าไปกระทบ
กระทั่ง เป็นผู้สำรวมในพระปาติโมกข์ และพึงเป็นผู้รู้จัก
ประมาณในโภชนะ เป็นผู้ฉลาดในการเกิดขึ้นแห่งจิต
มีนิมิตอันถือเอาแล้ว พึงประกอบสมถะและวิปัสสนา
ตามเวลาอันสมควรอยู่เนือง ๆ พึงเป็นบัณฑิตผู้ถึงพร้อม

ด้วยความเพียรเป็นนิตย์ เป็นผู้ประกอบภาวนาทุกเมื่อ
ด้วยความตั้งใจว่า ถ้ายังไม่ถึงที่สุดทุกข์ ไม่พึงถึงความ
วางใจ อาสวะทั้งปวงของภิกษุผู้ปรารถนาความบริสุทธิ์
เป็นอยู่อย่างนี้ ย่อมสิ้นไป และภิกษุทั้งหลายย่อมบรรลุ
นิพพาน.

จบอุปเสนวังคันตปุตตเถรคาถา

อรรถกถาอุปเสนวังคันตปุตตเถรคาถาที่ 6



มีคาถาท่านพระอุปเสนเถระว่า วิวิตฺตํ อปฺปนิคฺโฆสํ ดังนี้เป็นต้น.
เรื่องนั้นมีเหตุเกิดขึ้นอย่างไร ?
ได้ยินว่า ในกาลแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า ปทุมุตตระ
ท่านพระอุปเสนเถระรูปนี้ บังเกิดในเรือนอันมีสกุล ในหังสวดีนคร พอ
เจริญวัยแล้วไปฟังธรรมยังสำนักของพระศาสดาเห็นพระศาสดาทรงตั้งภิกษุ
รูปหนึ่งไว้ในตำแหน่งอันเลิศแห่งภิกษุทั้งหลาย ผู้มีความเลื่อมในโดยรอบ
แล้ว จึงกระทำบุญญาธิการไว้ในสำนักของพระศาสดาแล้ว ปรารถนา
ตำแหน่งนั้น ตลอดชีวิตทำแต่กุศล จึงได้ท่องเที่ยวไปในเทวโลกและ
มนุษยโลก ในพุทธุปบาทกาลนี้ บังเกิดในท้องของนางพราหมณีชื่อว่า
รูปสารี ในนาลกคาม และเขาได้มีชื่อว่า อุปเสนะ.
อุปเสนะนั้น เจริญวัยแล้ว พอเรียนไตรเพทจบแล้ว ฟังธรรมใน
สำนักของพระศาสดา ได้มีศรัทธาบวชแล้ว มีพรรษาเดียว ต้องการเพื่อ
ให้อุปสมบท จึงให้กุลบุตรคนหนึ่ง อุปสมบทในสำนักของตน ด้วยคิดว่า